วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์


ครูสาธิตการทดลองวิทยาศาสตร์  และนักเรียนปฏิบัติการทดลอง เมื่อวันท่ี  18  สิงหาคม  2553



ทัศนศึกษา


คณะครู นักเรียนโรงเรียนวัดบุปผารามไปทัศนศึกษาท่ีหมู่บ้านช้าง   จังหวัดสุรินทร์

การปฏิบัติธรรม


คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดบุปผารามไปฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดป่านาโพธิ์  อำเภอนาโพธิ์


สาระน่ารู้

การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ CIPPA
การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ CIPPA ค้นคิดขึ้นโดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆและใช้กระบวนการกลุ่มช่วยในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบทั้ง 5 คือ
C – Construct หมายถึง การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ แปลความ ตีความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปเป็นข้อความรู้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I – Interaction หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
P – Physical Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางร่างกาย
P –Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆที่เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติงานต่างๆที่เป็นขั้นตอน
A – Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆที่หลากหลาย ได้ฝึกฝน พฤติกรรมการเรียนรู้จนเกิดความชำนาญในการที่จะนำความรู้นั้นไปใช้เป็นประจำในชีวิตจริง
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA
1. การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับ
ความรู้เดิมของตนเอง
2. การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้
ผู้เรียน หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
3. การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับข้อมูลหรือความรู้ที่หามาได้ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่างๆด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
4. การแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่นและได้รับประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
5. การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระเบียบเพื่อช่วยให้
ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
6. การแสดงผลงาน
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้เป็นการให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
7. การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ

เรียบเรียงโดย อรุณ ไลไธสง
ที่มา: อ้างอิงจาก 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมวันแม่


โรงเรียนวัดบุปผารามจัดกิจกรรมวันแม่

วันท่ี  12  สิงหาคม  2553